Thai laws on the making of a Will
Inheritance in Thailand is governed by Book VI of the Civil and Commercial Code. When someone makes a last will the will must comply with the requirements of the Civil and Commercial Code. A common last will and testament in Thailand is a 'last will' made in writing, dated at the time of making and signed by the testator in the presence of at least 2 witnesses who sign their names to certify the signature of the testator (section 1656 of the Civil and Commercial Code).
(Translation) | (original Thai script) |
Section 1646. Any person may, in contemplation of death, make a declaration of intention by will concerning dispositions as to his property or other matters which shall take effect according to the law after his death. Section 1647. The declaration of intention in contemplation of death shall be the latest one in imperative term provided by will. Section 1648. A will must be made according to the forms prescribed in Chapter II of this Title. Section 1649. The administrator of an estate appointed by the deceased shall have the power and duty to arrange for the funeral of the deceased unless another person has been specially appointed by the deceased for that purpose. If there is no administrator, or no person appointed by the deceased to arrange for the funeral, or no person entrusted by the heirs to arrange for the funeral, the person who has received the greatest amount of property by will or by statutory right shall have the power and duty to arrange for the funeral unless the Court on application of any interested person, thinks fit to appoint another person for that purpose. Section 1650. Expenses creating an obligation in favour of a person arranging for the funeral may be claimed according to the preferential right as specified in Section 253 (2) of this Code. If the funeral is delayed for any reason whatsoever, any person empowered under the foregoing section shall reserve a reasonable amount of money out of the assets of the estate for this purpose. Where the amount to be reserved cannot be agreed upon, or where an objection is raised, any interested person may apply to the Court. In any case, the expenses or the money for the arrangement of the funeral may be reserved only up to the amount suitable to the social station in life of the deceased, and provided that the rights of the creditors of the deceased are not prejudiced thereby. Section 1651. Subject to the provisions of Title IV:
In case of doubt, a legatee is presumed to be a legatee under a particular title. Section 1652. A ward cannot make a legacy in favor of his guardian or in favor of the spouse, ascendant or descendant or brother or sister of his guardian until rendering of the account of the guardianship provided by Section 1577 and following of this Code is completed. Section 1653. The writer of the will or a witness thereof cannot be a legatee under such will. The forgoing paragraph shall also apply to the spouse of such writer of witness. The competent official recording the statement made by witnesses under Section 1663 is deemed to be a writer within the meaning of this section. Section 1654. The capacity of the testator must be considered only as at the time when the will is made. The capacity of the legatee must be considered only as at the time when the testator dies. CHAPTER IIFORMS OF WILLSSection 1655. A will may be made only in any one of the forms prescribed in this Chapter. Section 1656. A will may be made in the following form, that is to say, it must be made in writing, dated at the time of making of will and signed by the testator before at least two witnesses present at the same time who shall then and there sign their names certifying the signature of the testator. No erasure, addition or other alternation in such will is valid unless made in the same form as prescribed by this section. Section 1657. A will may be made by an holograph document, that is to say the the testator must write with his own hand the whole text of the document, the date and his signature. No erasure, addition or other alteration in such will is valid unless made by the restator's own hand and signed by him. The provision of Section 9 of this Code shall not apply to a will made under this section. Section 1658. A will may be made by a public document, that is to say:
No erasure, addition or other alternation in such will is valid unless signed by the testator, the witness and the Kromakarn Amphoe. Section 1659. A will made by a public document may, upon request, be made outside the Amphoe Office. Section 1660. A will may be made by a secret document, that is to say:
No erasure, addition or other alternation in such will is valid unless signed by the testator. Section 1661. If a person, who is deaf-mute or unable to speak, desires to make his will by a secret document, he must instead of making the declaration required in Section 1660 (3) write with his own land, in the presence of the Kromakarn Amphoe and of the witnesses, on the cover of the document, a statement that the enclosed document is his will and add the name and the domicile of the writer of the document, if any. Instead of nothing down the declaration of the testator on the cover, the Kromakarn Amphoe shall certify thereon that the testator has complied with the requirements of the foregoing paragraph. Section 1662. A will made by a public document or by a secret document shall not be divulged by the Kromakarn Amphoe to any other person during the lifetime of the testator, and the Kromakarn Amphoe is bound to hand over such will to the testator whenever the latter shall require him to do so. If the will has been made by a public document the Kromakarn Amphoe shall, before handing over such will, make a copy thereof under his signature and seal. Such copy may not be divulged to any other person during the life of testator. Section 1663. When under exceptional circumstances such as imminent danger of death, or during an epidemic or war, a person is prevented from making his will in any other if the prescribed forms, he may be make an oral will. For this purpose, he must declare his intention regarding the dispositions of the will before at least two witnesses present at the same time. Such witnesses must without delay appear for the Kromakarn Amphoe and state before him the dispositions which the testator has declared to them orally, as well as the date, place and exceptional circumstances under which the will was made. The Kromakarn Amphoe shall note down the statement of the witnesses and such two witnesses shall sign the statement or, failing that, may make an equivalent to signature only by affixing a finger-print certified by the signatures of two witnesses. Section 1664. A will made under the forgoing section loses its validity one month after the time when the testator has again been placed in a position to make a will in any other of the prescribed forms. Section 1665. When the signature of the testator is required under Section 1656, 1658, 1660, the only equivalent to signature is the affixing of a finger-print certified by the signatures of two witnesses at the same time. Section 1666. The provisions of Section 9 paragraphs 2* of this Code shall not apply to witnesses whose signatures are required under Section 1656, 1658, 1660. Section 1667. In the event of a Thai subject making his will in a foreign territory, such will may be made either according to the form prescribed by the law of the country where it is made or according to the form prescribed by Thai law. When the will is made according to the form prescribed by Thai law, the powers and duties of the Kromakarn Amphoe under Section 1658, 1660, 1661, 1662, 1663 shall be exercised by:
Section 1668. Unless otherwise provided by law, the testator need not disclose to the witness the contents of his will. Section 1669. During the time when the country is engaged in arms conflict or is in the state of war, a person serving in armed forces or acting in connection therewith may make a will according to the form prescribed in Section 1658, Section 1660 or Section 1663; and in such case the military officer or official of commissioned rank shall have the same powers and duties as those of the Kromakarn Amphoe. The provisions of the foregoing paragraph shall apply mutatis mutandis to the person serving in armed forces or acting in connection therewith, who, while performing the duties for his country, makes a will in a foreign country which is engaged in armed conflict or is in the state of war; and in such cases the military officer or official commissioned rank shall have the same powers and duties as those of the Thai Diplomatic or Consular Officer. If the testator under the two foregoing paragraphs is sick or wounded and is admitted to a hospital, the physician of that hospital shall also have the same powers and duties as those of the Kromakarn Amphoe, Thai Diplomatic or Consular Officer, as the case may be. Section 1670. The following persons cannot witness at the making of a will;
Section 1671. Where a person other than the testator is the writer of a will, such persons must sign his name thereon and add the statement that he is the writer. If such person is also a witness, a statement that he is a witness must be written down after his signature in the same manner as is done by any other witness. Section 1672. The Minister of Interior, Defense and Foreign Affairs shall have the powers and duties, in so far as they are respectively concerned, to issue Ministerial Regulations for carrying out the provisions of this Book and for fixing the rates and fees in connection therewith. |
มาตรา 1646 บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่อง ทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ มาตรา 1647 การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้ง สุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม มาตรา 1648 พินัยกรรมนั้นต้องทำตามแบบซึ่งระบุไว้ในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้ มาตรา 1649 ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะ จัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดั่งว่านั้น ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาท มิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือ โดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง ร้องขอขึ้น มาตรา 1650 ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใดในการจัดการทำศพนั้น ให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา 253 (2) แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าการจัดการทำศพ ต้องชักช้าไปด้วยประการใด ๆ ให้บุคคลผู้มีอำนาจตามความ ในมาตราก่อนกันเงินเป็นจำนวนอันสมควรจากสินทรัพย์แห่งกองมรดกเพื่อใช้ในการนี้ โดยให้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องต่อศาลได้ในกรณีที่ไม่ตกลงหรือคัดค้านการกันเงินจำนวน นั้น กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม เงินค่าใช้จ่าย หรือเงินที่กันไว้อันเกี่ยวกับการจัดการ ทำศพนั้น ให้กันไว้ได้แต่เพียงจำนวนตามสมควรแก่ฐานะในสมาคมของผู้ตาย แต่จะต้องไม่เป็นการ เสื่อมเสียต่อสิทธิของเจ้าหนี้ของผู้ตาย มาตรา 1651 ภายใต้บังคับบทบัญญัติลักษณะ 4
ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้รับพินัยกรรม ลักษณะเฉพาะ มาตรา 1652 บุคคลผู้อยู่ในความปกครองนั้น จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดก ของตนให้แก่ผู้ปกครองหรือคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองไม่ได้ จนกว่าผู้ปกครองจะได้ทำคำแถลงการณ์ปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1577 และมาตรา ต่อ ๆ ไป แห่งประมวลกฎหมายนี้เสร็จสิ้นแล้ว มาตรา 1653 ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้น ไม่ได้ ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรม ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความแห่งพินัยกรรมที่พยานนำมาแจ้งตาม มาตรา 1663 ให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมตามความหมายแห่งมาตรานี้ มาตรา 1654 ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมนั้นให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ทำ พินัยกรรมเท่านั้น ความสามารถของผู้รับพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรม ตายเท่านั้น หมวด 2 แบบพินัยกรรมมาตรา 1655 พินัยกรรมนั้น จะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ ในหมวดนี้ มาตรา 1656 พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย สองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ ในขณะนั้น การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อม ไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้ มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือผู้ทำ พินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้น ย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้ บทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้น ตามมาตรานี้ มาตรา 1658 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อม ไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ มาตรา 1659 การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้น จะทำนอกที่ว่าการอำเภอ ก็ได้ เมื่อมีการร้องขอเช่นนั้น มาตรา 1660 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่ สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ มาตรา 1661 ถ้าบุคคลผู้เป็นทั้งใบ้และหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์ จะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารลับ ให้ผู้นั้นเขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้ากรมการ อำเภอและพยานซึ่งข้อความว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตนแทนการให้ถ้อยคำดั่งที่กำหนดไว้ ในมาตรา 1660 (3) และถ้าหากมีผู้เขียนก็ให้เขียนชื่อกับภูมิลำเนาของผู้เขียนพินัยกรรมนั้นไว้ด้วย ให้กรมการอำเภอจดลงไว้บนซองเป็นสำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ปฏิบัติตาม ข้อความในวรรคก่อนแล้ว แทนการจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม มาตรา 1662 พินัยกรรมซึ่งได้ทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำ พินัยกรรมจะเรียกให้กรมการอำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใด ๆ กรมการอำเภอจำต้อง ส่งมอบให้ ถ้าพินัยกรรมนั้นทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการ อำเภอคัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้น จะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ มาตรา 1663 เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตาม แบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่นตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ เพื่อการนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยาน อย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อความ ที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์ พิเศษนั้นไว้ด้วย ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้องลง ลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้น จะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมี พยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน มาตรา 1664 ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมซึ่งทำขึ้นตามมาตราก่อนนั้นย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่น ที่กำหนดไว้ได้ มาตรา 1665 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อตามมาตรา 1656, 1658, 1660 จะให้เสมอกับลงลายมือชื่อได้ ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย สองคนในขณะนั้น มาตรา 1666 บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้ บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตามมาตรา 1656, 1658, 1660 มาตรา 1667 เมื่อคนในบังคับไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ พินัยกรรมนั้น อาจทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้ หรือตามแบบที่กฎหมายไทย บัญญัติไว้ก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ อำนาจและหน้าที่ของกรมการ อำเภอตามมาตรา 1658, 1660, 1661, 1662, 1663 ให้ตกแก่บุคคลดั่งต่อไปนี้ คือ
มาตรา 1668 ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความในพินัยกรรมนั้นให้ พยานทราบ เว้นแต่กฎหมายจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 1669 ในระหว่างเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะการรบหรือการสงคราม บุคคลที่รับราชการทหารหรือทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหาร จะทำพินัยกรรมตามแบบที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 1658 มาตรา 1660 หรือมาตรา 1663 ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านั้น ให้นายทหาร หรือข้าราชการฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอ บทบัญญัติวรรคก่อนให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลที่รับราชการทหารหรือ ทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหารทำพินัยกรรมในต่างประเทศในระหว่างที่ปฏิบัติการเพื่อ ประเทศในภาวะการรบหรือการสงครามในต่างประเทศโดยอนุโลม และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตามความในสองวรรคก่อนนั้นป่วยเจ็บหรือต้องบาดเจ็บ และ อยู่ในโรงพยาบาล ให้แพทย์แห่งโรงพยาบาลนั้นมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอ หรือพนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย แล้วแต่กรณีด้วย มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้
มาตรา 1671 เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความแห่ง พินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้าย ลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ มาตรา 1672 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลาโหม และต่างประเทศ มีอำนาจและหน้าที่เท่าที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้น ๆ ที่จะออกกฎกระทรวงเพื่อให้การเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายบรรพนี้ รวมทั้งกำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น |